วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา (Makha Bucha Day)

วันมาฆบูชา ซึ่งก็ถือว่าเป็นปีหนึ่งที่ดี เพื่อที่จะได้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถหยุดและพาครอบครัวไปทำบุญ และพิธีทางศาสนาได้อยากเต็มที่ วันนี้สกู๊ปเอ็มไทย จึงนำประวัติ มาฆบูชา ความสำคัญและ บทสวดมนต์ คำสอนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับ วันมาฆบูชา มาฝากกันครับ
วันมาฆบูชา2557
วันมาฆบูชา

 วันมาฆบูชา “วันจาตุรงคสันนิบาต” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันมาฆบูชา หรือ วันจาตุรงคสันนิบาต ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 3 หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำกลางเดือน 4 หรือประมาณเดือนมีนาคมสำหรับปีนี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2556

ความหมายที่แท้จริงของคำ “มาฆบูชา”

“มาฆะ” เป็นชื่อเดือน 3 ที่ย่อมาจากคำว่า “มาฆบุรณมี” ที่หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3
การกำหนดวันมาฆบูชา
จะถือกำหนดตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดที่มีเดือนอธิกามาส (มีเดือน 8 สองครั้ง) วันมาฆบูชาจะเลือนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือ มีนาคมนั่นเอง

ประวัติวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา ในภาษาบาลีอ่านว่า “มาฆปูชา” และ “มาฆบูชา” ย่อมาจาก “มาฆปูรณมีบูชา” ซึ่งหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเ นื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น เมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ
  • พระสงฆ์สาวก จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย
  • พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือ ผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
  • พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรง อภิญญา 6
  • วันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณ มีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้น จึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4
ปัจจุบัน วันมาฆบูชา ได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทาน โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
สำหรับในปี พ.ศ. 2553 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม ตามปฏิทินสุริยคติ
การเตรียมตัวก่อนประกอบพิธีเวียนเทียน ในวันมาฆบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ 3
  • อาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้เบิกบาน
  • แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่
  • เตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ตลอดจนเครื่องบูชาให้เรียบร้อย
  • เมื่อถึงวัดแล้วควรอยู่ในอาการสำรวม ไม่พูดคุยหยอกล้อ วิ่งเล่น หรือทำกิจกรรมอันไม่เหมาะสม

ความหมายการเวียนเทียน วันมาฆบูชา

  • เวียนเทียน รอบที่ 1 : รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาบท อิติปิโส ภะคะวาฯ ไปจนจบ เพื่อให้จิตใจมีสมาธิ
  • เวียนเทียน รอบที่ 2 : รำลึกถึงคุณพระธรรม ภาวนาบทสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมฯ ไปจนจบ
  • เวียนเทียน รอบที่ 3 : รำลึกคุณพระสงฆ์ ภาวนาบทสุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ ระหว่างนั้นต้องทำจิตใจให้สงบ แน่วแน่กับบทบูชา
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
หลักการปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชา คือ ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และเข้าวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา อีกทั้งบำเพ็ญประโยชน์แก่บุคคลรอบข้าง บำรุงสถานที่ศาสนา เมื่อถึงตอนค่ำ จะนำดอกไม้ธูปเทียน นำมาเวียนรอบพระอุโบสถ โดยเวียนจากขวาไปซ้าย จำนวน 3 รอบ ซึ่งระหว่างเดินให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงค์ และคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นบุญกุศลให้กับตัวเอง

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

คาถาโอวาทปาติโมกข์และคำแปล

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
การบำเพ็ญแต่ความดี 1
การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อนูปวาโท อนูปฆาโต
ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1
ความสำรวมในปาติโมกข์ 1
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1
ที่นั่งนอนอันสงัด 1
ความเพียรในอธิจิต 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อภิญญา 6

อภิญญา แปลว่า “ความรู้ยิ่ง” หมายถึง ปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน
  • อิทธิวิธิ หมายถึง แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
  • ทิพพโสต หมายถึง มีหูทิพย์
  • เจโตปริยญาณ หมายถึง กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
  • ปุพเพนิวาสานุสติญาณ หมายถึง ระลึกชาติได้
  • ทิพพจักขุ หมายถึง มีตาทิพย์
  • อาสวักขยญาณ หมายถึง รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น